จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยวจ.ระนอง

Leam Son National Park

Leam Son National Park

ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2526 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 46 ของประเทศไทยครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 315 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่น้ำประมาณ 259 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 60 กิโลเมตร และหมู่เกาะ 2 หมู่เกาะได้แก่ หมู่เกาะกำใหญ่และหมู่เกาะกำนุ้ย รวมทั้งเกาะต่างๆอีก 8 เกาะ ได้แก่ เกาะหมู เกาะเปียกน้ำน้อย เกาะเปียกน้ำใหญ่ เกาะเทา เกาะค้างคาว เกาะล้าน เกาะกำนุ้ย และเกาะไข่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลสูงสุด 296 เมตร ที่เกาะกำใหญ่ สำหรับชายฝั่งแผ่นดินใหญ่มียอดเขาสูงสุดที่อ่าวอ่าง สูงจากระดับน้ำทะเล 264 เมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติแหลมสน ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีนทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ในท้องที่อำเภอเมืองระนอง อำเภอกะเปอร์ กิ่งอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง และอำเภอคุระบุรีจังหวัดพังงา อยู่ในระหว่างเส้นรุ้งที่ 9 องศา 16 ลิบดา - 9 องศา 40 ลิบดา เหนือ และอยู่ระหว่างเส้นแวงที่ 98 องศา 19 ลิบดา - 98 องศา 31 ลิบดา ตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อทิศเหนือจดอ่าวอ่าง ทิศใต้จดป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนคลองม่วงกลวง และป่าแหลมหน้าทุ่ง จังหวัดระนอง ป่าสงวนแห่งชาติเทือกเขานมสาว แปลงที่ 2 จังหวัดพังงา และป่าสงวนแห่งชาติป่าทุ่งนาดำ และป่าควนปากเตรียม จังหวัดพังงา ทิศตะวันออกจดคลองเตรียม ทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน
อุทยานแห่งชาติแหลมสนครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 315 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ำประมาณ 268.55 ตารางกิโลเมตร หรือ 85.25 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ประกอบด้วยพื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 60 กิโลเมตร และหมู่เกาะ 2 หมู่เกาะ ได้แก่ หมู่เกาะกำใหญ่ และหมู่เกาะกำนุ้ย รวมทั้งเกาะต่างๆ อีก 8 เกาะ ได้แก่ เกาะหมู เกาะเปียกน้ำน้อย เกาะเปียกน้ำใหญ่ เกาะเทา เกาะค้างคาว เกาะล้าน เกาะกำหนุ่ย และเกาะไข่ใหญ่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลสูงสุด 296 เมตร ที่เกาะกำใหญ่ สำหรับชายฝั่งแผ่นดินใหญ่มียอดเขาสูงสุดที่เขาอ่าวอ่างสูงจากระดับน้ำทะเล 264 เมตร
ลักษณะชายฝั่งของอุทยานแห่งชาติ มีลักษณะเว้าแหว่ง และท้องทะเลลึก ไม่ห่างจากชายฝั่งมากนัก เป็นลักษณะชายฝั่งจมตัว เป็นผลให้ชายหาดตลอดแนวฝั่งแคบ มีลำน้ำสายสั้นขนาดเล็กจำนวนมาก ไหลจากที่สูงตอนในแผ่นดินไหลออกสู่ทะเลอันดามันประกอบด้วย คลองของ คลองลัดโนด คลองขะนุด คลองบางเบน คลองกล้วย คลองนาพรุใหญ่ คลองกำพวน และคลองปูดำ ซึ่งแม่น้ำลำคลองเหล่านี้ได้พัดพาตะกอนดินมาทับถมตามปาก แม่น้ำและชายฝั่ง ทำให้ลักษณะชายฝั่งบริเวณปากแม่น้ำ ลำคลองถูกปกคลุมไปด้วยป่าชายเลน ส่วนบริเวณติดต่อกับทะเลเปิดจะมีลักษณะของชายฝั่งเป็นดินโคลน แต่จะพบสันดอนทรายอยู่บ้างในช่วงน้ำลง บริเวณเขาอ่าวอ่าง เกาะหมู เขาบางเบน เกาะเปียกน้ำ เกาะเทา แหลมนาว เกาะค้างคาว หมู่เกาะกำใหญ่ หมู่เกาะกำนุ้ย เกาะล้าน เกาะกำหนุ่ย และเขาอ่าวนุ้ย ประกอบด้วยหน่วยหินแก่งกระจาน ในหมู่หินตะนาวศรี มีอายุอยู่ในยุคคาร์บอนิเฟอร์รัส ถึง ยุคเพอร์เมียน มีอายุประมาณ 345-230 ล้านปีมาแล้ว
ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติแหลมสนตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดระนองซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเมืองฝนแปดแดดสี่ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีฝนตกชุกมาก โดยมีฝนเฉลี่ยตลอดทั้งปีมากกว่า 4,000 มิลลิเมตร ฝนจะเริ่มตกตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน เป็นช่วงฝนชุกมาก โดยมีค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำฝนมากกว่า 700 มิลลิเมตรต่อเดือน ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ อากาศไม่หนาวจัดเพราะอยู่ไกลจากอิทธิพลของอากาศหนาวพอสมควร แต่บางครั้งอาจมีฝนตกได้เนื่องจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทยพาเอาฝนมาตก ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม จะมีลมจากทิศตะวันออกเฉียงใต้พัดมาปกคลุม ทำให้อากาศร้อนโดยทั่วไป อากาศจะร้อนสุดในเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 35 องศาเซลเซียส แต่ไม่ร้อนมากนักเนื่องจากภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรอยู่ใกล้ทะเล กระแสลมและไอน้ำจากทะเลทำให้อากาศคลายความร้อนลงไปมาก ฤดูร้อนจึงเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุดในการมาเยือนอุทยานแห่งชาติแหลมสน
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
พืชพรรณที่ปรากฏในส่วนของแผ่นดินใหญ่ เป็นป่าดงดิบแล้ง มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ยางแดง ยางเสียน พะวา มะไฟ ฯลฯ ในบริเวณชายหาดจะพบไม้ชายหาดซึ่งมีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ป่าชายหาด จะเป็นลักษณะของป่าสนทะเล บริเวณชายฝั่งทะเลที่มีดินโคลนและมีน้ำทะเลท่วมถึง เป็นสังคมพืชของป่าเลน จากลักษณะภูมิประเทศและความอุดมสมบูรณ์ของสังคมพืชทำให้พื้นที่ของอุทยานแห่งชาติแหลมสนเหมาะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หลายประเภทด้วยกัน จากการสำรวจสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก พื้นที่บริเวณเกาะและชายฝั่งทะเลของอุทยานแห่งชาติประกอบไปด้วยแนวปะการังและป่าชายเลนซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร หลบภัย และขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำนานาชนิดทั้งที่มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น